Site hosted by Angelfire.com: Build your free website today!
ประเภทของเครื่องดนตรี Classic

เครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่าลมไม้ (Woodwinds)

เครื่องดนตรีประเภทนี้ เกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านช่องแคบๆให้เข้าไป
ภายในท่อซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวขยายเสียงให้ดังขึ้น คุณลักษณะของเสียง
ที่เกิดขึ้น จะแตกต่างกัน ตามขนาดของท่อความสั้นยาวของท่อ
และความแรงของลมที่เป่าเข้าไปภายในท่อ

เครื่องดนตรีแต่ละชนิดยังมีขนาดต่าง ๆ กันออกไป เครื่องดนตรี
ขนาดเล็กจะให้ระดับเสียงสูง เครื่องดนตรีขนาดใหญ่จะให้ระดับเสียงต่ำ
ผู้บรรเลงจะต้องเลือกใช้เครื่องดนตรีให้เหมาะสมกับบทเพลง ตามที่ผู้
ประพันธ์เพลงได้กำหนดไว้

 

ฟลุท (Flute)
ฟลุท คือ ขลุ่ยชนิดหนึ่งเป็นเครื่องดนตรีอยู่ในกลุ่มเครื่องลมไม้ ฟลุทมี
ท่อกลวงเกิดเสียงโดยการเป่าลมผ่านส่วนปากเป่า ผู้เล่นต้องถือฟลุทให้
ขนานกับพื้น ฟลุทในระยะแรกทำด้วยไม้ ปัจจุบันฟลุททำด้วยโลหะผสม
คุณภาพเสียงของฟลุทในระดับสูงมีเสียงแจ่มใสเป่าเสียงในระดับสูงได้ดี
เสียงในระดับต่ำมีความนุ่มนวล เหมาะสำหรับใช้บรรเลงเดี่ยวบรรเลง
ทำนองหลักของบทเพลง และบรรเลงทำนองสอดแทรกต่าง ๆ ในระดับ
เสียงสูง

โอโบ (Obo)
จัดว่าเป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่มีระบบลิ้นคุ่ กล่าวคือมีลิ้น สองชิ้นประกบกัน
อยู่โอโบมีพื้นฐานมาจาก ปี่สมัยฟื้นฟูศิลปวิทยาการ ( Renaissance)
ที่มีชื่อว่า Shawm โอโบสมัยปัจจุบันได้ปรับปรุงมาในศตวรรษที่ 17
โดยนักประดิษฐ์เครื่องดนตรีชาวฝรั่งเศสและเยอรมัน เสียงของโอโบ
คล้ายเสียงที่ออกทางจมูกหรือที่เรียกว่าเสียงนาสิก (nasal Tone) คือ
มีลักษณะบีบ ๆ และแหลมคม ยังมีปี่ที่ลักษณะคล้ายกับโอโบอีกชนิดหนึ่ง
เรียกว่า อิงริช ฮอร์น ( English horn) ซึ่งมีลักษณะใหญ่กว่าโอโบเล็ก
น้อย จึงมีเสียงต่ำกว่า โอโบปรากฎอยู่ในออร์เครสตร้า ในศตรวรรษที่19

คลาริเน็ต (Clarinet)
เป็นเครื่องดนตรีจำพวกเครื่องลมไม้ที่พัฒนามาจากเครื่องดนตรีในสมัย
กลางเรียกว่า chalumeau คลาริเน็ตเป็นเครื่องดนตรีที่มักทำจากไม้
หรือพลาสติก ทำให้เกิดเสียงโดยใช้ลิ้นเดี่ยว (single reed) ซึ่งรัดติด
กับปากเป่า เช่นเดียวกับแซกโซโฟน. ช่วงเสียงคลาริเน็ต (Bb) เริ่มตั้งแต่
D (เขียนว่า E แต่เล่นแล้วออกเสียง D เนื่องจากเป็นคลาริเน็ตปีแฟลตมี
เสียงต่ำกว่าที่เขียนไว้ 1 tone) เรื่อยขึ้นไปประมาณ 3.5 คู่แปด

เบส คลาริเนต (Bass Clarinet)
เป็นปี่คลาริเนตขนาดใหญ่มีช่วงเสียงต่ำกว่า คลาริเนตธรรมดา 1 ออคเทฟ
ลำตัวยาวกว่าคลาริเนต ส่วนปากลำโพงทำด้วยโลหะและงอนขึ้นส่วนที่
เป่างอโค้งทำมุมกับตัวปี่ วัตถุประสงค์ของการประดิษฐ์เบสคลาริเนตขึ้นเพื่อ
ให้มีเสียงของเครื่องดนตรีในตระกูลคลาริเนตครบทุกเสียง
บาสซูน (Bassoon)
เป็นเครื่องลมไม้ที่จัดอยู่ในประเภทลิ้นคู่ ( Double Reed) และให้เสียง
ที่ต่ำที่สุด ไม่แจ่มใส ให้ความรู้สึกหม่นหมองเสียงแหบเหมือนผี มักไม่ค่อยมี
ใครนำมาบรรเลงเดี่ยวในประวัติมีเพียง โมสาร์ท เพียงคนเดียวที่กล้านำมา
ใช้ในเพลงคอนแชร์โต้ ส่วนใหญ่ใช้เป็นเสียงประสานหรือทำเสียงประหลาด
น่ากลัว บาสชูน มีท่อลมใหญ่ และมีความยาวถึง 109 นิ้วผู้ประดิษฐ์จึงเอามา
ทบกัน จนมีความยาวเหลือเพียง 50 นิ้ว และเนื่องจากมีน้ำหนักมากจึงจำเป็น
ต้องใช้เชือกถักติดกับตัวปี่แล้วคล้องคอผู้เล่น

แซกโซโฟน (Saxophone)
เครื่องดนตรีในตระกูลแซ็กโซโฟนสร้างขึ้นโดยอดอล์ฟ แซก (Adoph Sax)
แห่งเมืองบรัสเซล (Brussels) ประเทศเบลเยียม เมื่อปี ค.ศ. 1840 เครื่อง
ดนตรีในตระกูลแซ็กโซโฟนทั้งหมด ใช้กำพวดที่มีลิ้นเดียว เหมือนอย่างปี่
คลาริเนตแต่ลำตัวจะเป็นทรงกรวยเหมือนโอโบ ลำตัวทำด้วยโลหะเหมือน
เครื่องทองเหลือง ปากลำโพงเค้งงอย้อนขึ้นมา แซ็กโซโฟนขนาดเล็กให้เสียง
สูง ขนาดใหญ่ให้เสียงต่ำ เสียงของ แซ็กโซโฟนเป็นลักษณะผสมผสานมีทั้ง
ความพลิ้วไหว ความกลมกล่อมและความเข้มแข็งปะปนกัน
พิคโคโล (Piccolo)
เป็นเครื่องเป่าลมไม้ที่จัดอยู่ในจำพวกไม่มีลิ้นลักษณะเหมือนฟลุตแต่เล็กกว่า
ความยาวประมาณ 12 นิ้ว จึงทำให้เสียงที่ออกมาสูง แหลมคมกว่าฟลุต เป็น
ขลุ่ยขนาดเล็กมีลักษณะเช่นเดียวกับฟลูตแต่เล็กกว่าทำมาจากไม้หรืออีบอร์ไนท์
แต่ปัจจุบันทำด้วยโลหะ ยาวประมาณ 12 นิ้ว เสียงเล็กแหลมชัดเจน แม้ว่าจะ
เป่าเพียงเครื่องเดียว พิคโคโลเล่นได้ดีเป็นพิเศษโดยเฉพาะการทำเสียงรัว
(Trillo) และการบรรเลงเดี่ยว (Solo)ให้ความรู้สึกร่าเริง พริ้วไหวเสียงจะ
ได้ยินชัดเจนแม้อยู่ในวงโยธวาทิต ซึ่งกำลังบรรเลงด้วยเครื่องเป่าอื่นๆ มากมาย
วิธีการจับขลุ่ยปิคโคโล จับยึดด้วยมือทั้งสองให้ตัวขลุ่ย ปัดหางไปทางขวา
เป่าลมไปที่รูอยู่เกือบริมซ้าย
รีคอร์ดเดอร์ (Recorder)
เป็นเครื่องลมไม้ชนิดที่ไม่มีลิ้น มีหลายระดับเสียงมากมาย ตั้งแต่ Soprano,
Sopranino, Alto, Tenor และ Bass ขนาดก็จะลดหลั่นกันลงมาจาก
เสียงต่ำสุด จะใหญ่สุด เสียงสูงสุดก็จะเป็นตัวที่เล็กสุด เวลาจะเป่าใช้ปากอม
ส่วนที่เป็นปากแล้วจึงเป่าออกไป ต้องการเสียงใดก็ขยับนิ้วที่ปิดรูอยู่ข้างๆ
คอร์ แองเกลส์ (Cor Anglais or English horn)
ปี่ชนิดนี้มีลำตัวยาวกว่าปี่โอโบ ดังนั้นเพื่อง่ายต่อการเป่าส่วนที่ต่อจากที่เป่า
(ลิ้น)กับลำตัวปี่จึงต้องงอโค้งเป็นมุมและเกิดคำว่า “อองเกล (Angle)”
ขึ้นต่อมาคำนี้ได้เพี้ยนไปกลายเป็นอองแกลส์ (Anglais) ในภาษาฝรั่งเศส
ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า English ส่วนคำว่า “คอร์” (Cor) ในภาษา
ฝรั่งเศส ซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า ฮอร์น (Horn) ปี่ชนิดนี้นอกจากมีชื่อ
ประหลาดแล้ว ยังมีรูปร่างที่น่าทึ่งอีกด้วย คือส่วนที่ต่อจากที่เป่า (ลิ้นคู่) เป็น
ท่อลมโลหะโค้งงอติดกับลำตัวปี่ ซึ่งปี่โอโบไม่มี ตรงปลายสุดที่เป็นปาก ลำโพง
(Bell) ป่องเป็นกระเปาะกลม ๆ ซึ่งปี่โอโบมีลำโพงคล้ายปี่ คลาริเนตคอร์
แองเกลส์ เป็นปี่ตระกลูเดียวกับโอโบแต่มีขนาดใหญ่กว่าและมีรูปร่างที่แตก
ต่างไปจากโอโบระดับเสียงต่ำกว่าโอโบและเวลาเล่นจะต้องมีสายติดกับลำตัวปี่
โยงไปคล้องคอผู้เล่นเพื่อพยุงน้ำหนักของปี่
คอนทราบาสซูน(Contra Bassoon or Double Bassoon)
คอนทราบาสซูน ประดิษฐ์ขึ้นครั้งแรกโดยชาวอังกฤษสองคน ชื่อ สโตน และ
มอร์ตัน (Stone & Morton) ต่อมา เฮคเคล (Heckel) ได้ปรับปรุงโดยติด
กลไกของแป้นนิ้วต่าง ๆ ให้สมบูรณ์และนำมาใช้จนถึงทุกวันนี้ คอนทราบาสซูน
เป็นปี่ที่ใหญ่กว่าปี่บาสซูน ประมาณเท่าตัวคือมีความยาวของท่อลมทั้งหมดถึง
18 ฟุต 4 นิ้ว หรือ 220 นิ้วพับเป็นสี่ท่อน แต่ละท่อนเชื่อมต่อด้วย Butt และ
ข้อต่อรูปตัว U ที่ปลายท่อนสุดท้ายจะต่อกับลำโพงโลหะที่คว่ำลงในแนวดิ่ง
แต่คอนทราบาสซูนอีกชนิดหนึ่งลำโพงหงายขึ้นในแนวดิ่งให้เสียงต่ำกว่าบาสซูน
ลงไปอีก 1 ออคเทฟ เสียงจะนุ่มไม่แข็งกร้าวเหมือนบาสซูน แต่ถ้าบรรเลง
เสียงต่ำอย่างช้า ๆ ในวงออร์เคสตราขณะที่เครื่องดนตรีอื่น ๆ เล่นอย่างเบา ๆ
จะสร้างภาพพจน์คล้ายมีงูใหญ่เลื้อยออกมาจากที่มืด โอกาสที่ใช้ในการบรรเลง
มีไม่มากนักทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับบทเพลงนั้น ๆ

 

Artis
Contact Us